วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552
วัดศรีบึงบูรพ์
วัดศรีบึงบูรพ์ตั้งอยู่ที่บ้านโนนสาวสวย หมู่ที่ ๔ ตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ การเดินทางเริ่มจากตัวจังหวัดด้วยเส้นทางศรีสะเกษบึงบูรพ์ ระยะทางจากจังหวัดประมาณ ๒๐ กิโลเมตรและเดินทางจากอำเภอถึงวัดศรีบึงบูรพ์ ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร สภาพเส้นทางเป็นถนนลาดยางตลอดสายวัดศรีบึงบูรพ์ ตั้งอยู่ริมลำน้ำห้วยทับทัน เป็นสถานที่ที่มีบรรยากาศสวยงามตามธรรมชาติ เป็นสถานที่บำเพ็ญเพียรภาวนาของพระสงฆ์ที่มีประชาชนศรัทธา เลื่อมใส นั่นคือ พระอาจารย์ศรี จันทร์สาโร ซึ่งมีดำริที่จะสร้างพุทธสถาน และเทวสถานในวัดศรีบึงบูรพ์ ให้เป็นพุทธสถานมรดกอีสานใต้ นอกจากนี้วัด
ศรีบึงบูรพ์ ยังเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธชินราชจำลององค์ที่ ๒ ของประเทศไทยบรรยากาศภายในวัด สวยงามเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่ออุปราชเทวดาตามความเชื่อของชาวบึงบูรพ์ มีศาลาเรือนแก้ว พระอุโบสถที่งดงามตระการตา ระหว่างพระอุโบสถกับศาลาเรือนแก้วที่สวยงาม มีเฮือส่วง (เรือแข่ง) ที่พระอาจารย์ศรี จันทสาโร ได้มาจากอำเภอบ้านโป่ง เพื่อเป็นปรัชญาสอนให้คนบึงบูรพ์รักและสามัคคี
สถานที่ท่องเที่ยว จ.ศรีสะเกษ
เขาพระวิหาร หรือที่หลายๆ คนรู้จักในนาม "ปราสาทเขาพระวิหาร" (Prasat Preah Vihear) และที่ประเทศกัมพูชาเรียกขานว่า "เปรี๊ยะวิเฮียร์" เป็นปราสาทหินตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ในพื้นที่ทับซ้อนชายแดนไทย-กัมพูชา ระหว่างบ้านสรายจร็อม อำเภอจอมกระสานต์ จังหวัดพระวิหาร ของประเทศกัมพูชา และบ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ใกล้ๆ กับอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร เขาพระวิหาร เป็นบริเวณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของคนพื้นเมืองสมัยก่อน ในกษัตริย์ชัยวรมันที่ 2 ได้กำหนดเขตบริเวณนี้และเรียกชื่อว่า "ภวาลัย" ภายหลังปรากฏชื่อในจารึกภาษาสันสกฤตว่า "ศรีศิขรีศวร" หมายความว่า "ผู้เป็นใหญ่แห่งภูเขาอันประเสริฐ" ตั้งอยู่บนยอดเขาในเทือกเขาพนมดงรัก ตามแนวเส้นกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา จากหลักฐานต่างๆ คาดว่าสร้างในปี พ.ศ.1432-1443 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 เพื่อใช้เป็นสถานที่สักการะตามความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ โดยสมมติให้เปรียบเสมือน "เขาพระสุเมรุ" (ศูนย์กลางของจักรวาล) โดยการสร้างนั้นก็มีเหตุผลในการรวบรวมอำนาจและความเชื่อของคนในละแวกนั้นเข้าด้วยกัน เพราะในอดีตแถบนั้นมีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่รวมกัน พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 จึงโปรดให้สร้างเขาพระวิหารขึ้น เพื่อเป็นจุดยึดเหนี่ยวและศูนย์รวมจิตใจของ ชาวบ้านซึ่งจะทำให้การปกครองง่ายขึ้นด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)